วัดในพระพุทธศาสนาต้องเป็นวัดเล็กๆจริงหรือ?
วัดในพระพุทธศาสนาต้องเป็นวัดเล็กๆจริงหรือ?
มีผู้ตั้งประเด็นขึ้นมาว่า
วัดในพระพุทธศาสนาต้องมีความเป็นสมถะ ต้องเป็นวัดเล็กๆ หากมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โต
ไม่น่าจะเป็นวัดพุทธ
ก่อนที่เราจะมาพิจารณากันในประเด็นนี้
ตามมาดูก่อนว่าวัดใน พระพุทธศาสนาในอดีตนั้นมีขนาดมากน้อยแค่ไหน
- ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อวิปัสสี
คฤหบดีชื่อปุนัพพสุมิต ได้ซื้อที่
๑ โยชน์(๑๖ ก.ม.หรือ ๔๐๐ เส้น) ปูด้วยอิฐทองคำ
สร้างวิหารถวายพระองค์
- ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อสิขี
สิริวัฑฒคฤหบดี ซื้อที่ประมาณ ๓ คาวุต(๓๐๐ เส้น) ปูลาดด้วยไม้เส้าทองคำ
สร้างวิหารถวายพระองค์
- ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อเวสสภู
โสตถิชคฤหบดี ได้ซื้อที่ประมาณ กึ่งโยชน์ (๒๐๐เส้น) ปูลาดด้วยผาลทองคำ
สร้างวิหารถวายพระองค์
- ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อ
กกุสันธะ อุจจุตคฤหบดี ซื้อที่ประมาณ หนึ่งคาวุต(๑๐๐เส้น)
ปูลาดด้วยเรียงเท้าช้างทองคำ สร้างวิหารถวายพระองค์
- ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อ
โกนาคมนะ อุคคคฤหบดี ซื้อที่ประมาณ กึ่งคาวุต(๕๐เส้น) ปูลาดด้วยเรียงอิฐทองคำ
สร้างวิหารถวายพระองค์
- ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อ
กัสสปะ สุมังคลคฤหบดี ซื้อที่ประมาณ ๒๐ อุสภะ(๕๐๐วา) ปูลาดด้วยเรียงเต่าทองคำ
สร้างวิหารถวายพระองค์
นั่นคือวิหารในอดีตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ผ่านมา
ทีนี้เรามาดูว่าในยุค ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรากันบ้าง
เวฟุวันมหาวิหารในปัจจุบัน |
เรามาเริ่มต้นกันที่วัดแรกในพระพุทธศาสนา คือ วัดเวฬุวันมหาวิหาร
เป็น สวนไผ่ที่ร่มรื่น ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสาร เป็นผู้สร้างถวาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านสร้างถวายเพื่ออะไร
๑.
เพื่อเป็นที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒.
เพื่อให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้เป็นที่ฝึกพระภิกษุ
๓. เพื่อให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้เทศน์สอนญาติโยม
มีข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้
๑.
เดิมเป็นราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร
๒.
เป็นที่ประชุมสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ในการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
๓.
เป็นที่แสดงพระสูตรหลายพระสูตรเนื่องจากพระพุทธองค์ได้จำพรรษา อยู่ที่นี่หลายครั้ง
๔. พระพุทธองค์ทรงใช้วัดนี้เป็นศูนย์กลางเผยแพร่
และอบรมปลูกฝัง พระธรรมแก่ประชาชนในระยะต้นพุทธกาล ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จไปประทับ
ที่เชตวนาราม กรุงสาวัตถี ก็ทรงมอบให้พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา อยู่ บริหาร ควบคุมบัญชางานแทนและใช้เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
บริเวณภาคกลางประเทศอินเดียตลอดมา
๕. เป็นที่ประดิษฐาน
พระสถูปที่บรรจุพระธาตุ ของพระอรหันต์สาวก ชั้นผู้ใหญ่ เช่นพระอัญญาโกณทัญญะ
พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
๖. เป็นโรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรก เพราะหมอชีวกโกมารภัจจ์
นายแพทย์ ประจำราชสำนัก เป็นหมอประจำพระองค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย
๗. เป็นที่พักจำพรรษาของพระอรหันต์
๕๐๐ รูป ซึ่งเข้าร่วมประชุมกัน ทำปฐมสังคายนาตลอดมาเวลา ๓ เดือน
โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภก์
จากข้อมูลนี้
คงจะตอบได้นะครับว่า นี่เป็นวัดเล็กหรือวัดใหญ่
พระคันธกุฏีในมหาวิหารเชตวัน |
วัดต่อมา
เป็นวัดของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี แค่เห็นชื่อก็บอกแล้วนะครับ ว่า
เป็นเศรษฐี วัดนี้มีตำนานการสร้างที่ลือลั่น เนื่องจากเจ้าของที่ คือ เจ้าเชต
ไม่ต้อง การขาย เลยแกล้งบอกราคาว่า
ให้เอาเงินเอาทองมาปูเรียงเต็มพื้นที่นั่นแหละคือ ราคา แต่ท้าใครไม่ท้า
มาท้าท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งท่านเอาจริง ทำตามนั้น เจ้าเชตเลยต้องขายตามที่พูดแต่กระนั้น ก็ยังขอเหลือพื้นที่ไว้ตรงหน้าวัด
ขอให้ใช้ ชื่อวัดเชตวัน ตามชื่อของตน
การก่อสร้างอาคาร
และถาวรวัตถุต่างๆ ทำอย่างประณีต งดงามแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ รวมค่าที่ดิน
และค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้นถึง ๕๔๐ ล้าน กหาปณะ คิดเป็นไทยประมาณ ๒,๑๖๐
ล้านบาท (๑ กหาปณะเท่ากับ ๔ บาท) ในคัมภีร์ศาสนากล่าวชมว่า
แม้พระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชา ผู้ทรงยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น
ก็ยังสวยงามสู้เชตวนารามไม่ได้
เชตวนาราม เป็นพระอารามที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเผยแผ่
และปลูกฝังพระธรรมควบคู่กับเวฬุวนาราม พระพุทธเจ้าทรงประทับและแสดง พระธรรมเทศนาโปรดประชาชนที่พระอารามนี้นานถึง
๑๙ พรรษา จึงกลายเป็น ศูนย์เผยแพร่พระพุทธศาสนา
บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ ควบคู่กับปุพพาราม
จากข้อมูลนี้ คงจะตอบได้นะครับว่า นี่เป็นวัดเล็กหรือวัดใหญ่
วัดบุพพาราม |
อีกแห่งหนึ่งคือ วัดปุพพาราม ซึ่งมหาอุบาสิกาวิสาขา
เป็นผู้สร้างถวาย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสาวัตถี
คู่กับเชตวนารามอยู่ทางทิศตะวันตก หลังจากสถาปนิกออกแบบแปลนแผนผังดีแล้ว
จึงลงมือก่อสร้างพระอารามนี้ขึ้น ในบริเวณทุ่งนารกร้างนอกเมือง
อาคารสร้างเป็นทรงปราสาท ๒ ชั้นๆ ละ ๕๐๐ ห้อง จัดเป็นส่วนๆ โดย
- แยกเป็นที่อยู่ของพระผู้ชำนาญพระวินัยส่วนหนึ่ง
- เป็นส่วนของผู้ชำนาญพระสูตรส่วนหนึ่ง
- เป็นของของพระผู้ชำนาญพระอภิธรรมส่วนหนึ่ง
- เป็นที่พักของภิกษุอาพาธส่วนหนึ่ง
- เป็นห้องพยาบาลส่วนหนึ่ง
- เป็นที่พักของพระอาคันตุกะส่วนหนึ่ง
- และห้องอื่นๆ อีกครบถ้วน
ยอดปราสาทเป็นรูปหม้อน้ำทรงสูง
ทำด้วยทองคำเป็นพุทธบูชา เมื่อสร้าง เสร็จแล้วก็ปลูกต้นไม้ทำเป็นสวนป่า พาให้ร่มเย็นตลอดทั้งบริเวณ
ค่าใช้จ่ายรวม ทั้งสิ้นถึง ๒๗๐ ล้านกหาปณะ คิดเป็นเงินไทยประมาณ ๑,๐๘๐
ล้านบาท
เนื่องจากปุพพารามเป็นพระอารามที่มีแบบแปลนแผนผังดีมาก ดังนั้น จึงใช้เป็นแบบมาตรฐานในการ สร้างวัดสมัยต่อๆ มา พระพุทธเจ้าทรงประทับ ฉลองศรัทธาอยู่ที่พระอารามนี้ถึง ๖ พรรษา นางวิสาขาก็ได้ทำนุบำรุงโดย ถวายภัตตาหารและปัจจัยอื่นๆ แก่พระภิกษุผู้อยู่ในพระอารามจนตลอดชีวิต
เนื่องจากปุพพารามเป็นพระอารามที่มีแบบแปลนแผนผังดีมาก ดังนั้น จึงใช้เป็นแบบมาตรฐานในการ สร้างวัดสมัยต่อๆ มา พระพุทธเจ้าทรงประทับ ฉลองศรัทธาอยู่ที่พระอารามนี้ถึง ๖ พรรษา นางวิสาขาก็ได้ทำนุบำรุงโดย ถวายภัตตาหารและปัจจัยอื่นๆ แก่พระภิกษุผู้อยู่ในพระอารามจนตลอดชีวิต
จากข้อมูลนี้
คงจะตอบได้นะครับว่า นี่เป็นวัดเล็กหรือวัดใหญ่
นี่เป็นตัวอย่างของวัดที่สำคัญในยุคพุทธกาล
และตัวเลขค่าใช้จ่าย ก็อย่าลืมว่า นั่นคือ ตัวเลขเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว
หากเป็นปัจจุบัน คงจะต้องคูณเข้าไปอีกหลายเท่า
คราวนี้ก็มีเรื่องที่จะต้องพิจารณากันต่อ คือ ผู้สร้างวัด
ทั้งสามวัดนั้น ล้วนเป็นพระราชา เศรษฐี เป็นผู้สร้าง
ดังนั้นจึง ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่พระจะต้องต้องไปบอกบุญให้ใครมาร่วมสร้าง จึง
ไม่มีลักษณะของการระดมทุน แต่เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ ญาติโยมต้องดิ้นรนทำมาหากิน
ไม่มีเวลาที่จะมาสร้างวัดให้ จึงใช้วิธีถวาย ปัจจัยมา
เพื่อให้พระเป็นผู้ช่วยดำเนินการแทน และเนื่องจากไม่มีเป็นก้อน ใหญ่ๆ
แบบพระเจ้าพิมพิสาร หรือมหาเศรษฐีทั้งสอง พระจึงต้องเป็นผู้ บอกบุญเอง โดยอาศัยความศรัทธาที่ญาติโยมมีอยู่
จึงจะสร้างวัดได้
อีกประเด็นหนึ่งคือ การสร้างวัดใหญ่หรือวัดเล็ก นี้ก็เช่นกัน
ถามว่า การสร้างวัดใหญ่วัดเล็ก เอาอะไรมาเป็นตัวกำหนด ตรงนี้หากใครไม่เคยเป็น
เจ้าอาวาสจะไม่เข้าใจ ไม่มีใครอยากสร้างวัดใหญ่โตอย่างที่คิดหรอก เพราะมี
ค่าใช้จ่ายเยอะ แต่มักจะสร้างจากความจำเป็น เช่นเดียวกับญาติโยมสร้าง บ้าน
ก็ขึ้นอยู่กับสมาชิกในบ้าน ใช่ไหม หากบ้านไหนมีสมาชิกมาก ก็ต้อง
สร้างบ้านใหญ่เป็นธรรมดา
ย้อนกลับมาดูที่วัดพระธรรมกาย เมื่อเริ่มต้นสร้างวัดนั้น
วัดมีพื้นที่ เพียงแค่ ๑๙๖ ไร่ ก็คิดว่าจะให้มีพระสัก ๑๐ รูป จึงสร้างกุฏิไม่กี่หลัง
และ สร้างศาลาฟังธรรมจุคนได้ ๕๐๐ คน สมัยนั้นต้องถือว่าเป็นศาลาใหญ่ ก็มี คนบ่นว่า
ทำไมสร้างศาลาใหญ่ วัดก็วัดบ้านนอก ห่างไกลจากตัวเมือง จะมี ใครมากัน แต่ไม่นานนัก
ศาลานั้นก็ล้น แล้วก็มีคนมีศรัทธาออกบวชจน ปัจจุบันนี้ มีพระภิกษุกว่า ๒,๐๐๐ รูป
สามเณรกว่า ๓๐๐ รูป เจ้าหน้าที่ และพนักงานอีกกว่า ๕,๐๐๐ ชีวิต
แล้วจะไม่ให้ขยายวัดได้หรือ และจาก การจัดให้คนมาปฏิบัติธรรมสม่ำเสมอ
มีผู้มาวัดทุกวันอาทิตย์ธรรมดาราว ๑๐,๐๐๐ คน อาทิตย์ต้นเดือน ราว ๕๐,๐๐๐ คน
งานบุญพิธีสำคัญๆ เช่น มาฆบูชา หรือวันคุ้มครองโลก จะมีผู้มาร่วมงานกว่า ๑๐๐,๐๐๐
คน หาก ไม่มีพื้นที่มากพอ จะรองรับผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างไร
มาถึงจุดนี้ คิดว่าทุกท่านคงจะพอมองออกว่าทำไมวัดจึงต้องขยาย
ที่ทำทั้งหมดนี้ มีเหตุผลเพียงประการเดียวคือ
ต้องการให้พระพุทธศาสนา เแผ่ขยายไปทั่วโลก เพราะคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นเป็นสากล
เข้ากับ คนทุกประเภท ไม่จำกัดความเชื่อ เผ่าพันธุ์ เพศ วัย ทั้งพระเดชพระคุณ
หลวงพ่อและทีมงาน ต่างทุ่มเทเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ในการทำงาน เพราะ
ต้องการตอบแทนพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้เสียสละ สร้างบารมีถึง ๒๐
อสงไขยกับแสนมหากัปป์กว่าจะค้นพบสัจธรรมได้
หากไม่ได้คำสอนของพระองค์
เราก็คงจะไม่มีความรู้เรื่องกฎแห่งกรรม ซึ่ง อาจนำไปสู่การกระทำที่ผิดพลาด นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
คือ แทนที่จะได้ใช้โอกาสของการเกิดมาเป็นมนุษย์สร้างความดีให้เต็มที่
ก็กลับไปสร้างกรรมชั่วที่จะนำไปสู่อบายในที่สุด
อย่างไรก็ตาม
การที่เราจะไปวัดแบบไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับจริตอัธยาศัย ของเรา บางคนอาจจะต้องการที่เงียบๆ
มีคนน้อยๆ บางคนก็ชอบวัดที่มีคน มานั่งสมาธิกันมากๆ จะได้มีกำลังใจนั่งภาวนากัน
อย่ามัวเสียเวลามานั่งเถียงกันเรื่องวัดเล็กวัดใหญ่เลยครับ
เลือกเอาวัด ที่เราชอบแล้วเข้าไปทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา เก็บเกี่ยวบุญกุศล
ให้เต็มที่ดีกว่าครับ
Cr.ปรัศนี
วัดในพระพุทธศาสนาต้องเป็นวัดเล็กๆจริงหรือ?
Reviewed by asabha072
on
4:44 PM
Rating:
No comments: