ความสำคัญของการสื่อสาร

ความสำคัญของการสื่อสาร
            ช่วงนี้ผมอาจจะพูดถึงพระอาจารย์จากเมืองนอกบ่อยหน่อยนะครับ เนื่องจาก ช่วงนี้ท่านยังอยู่เมืองไทย ยังมีเวลาให้ผมไปรบกวนถามโน่นนี่ ได้เรื่อยๆ ผมก็ไม่เกรงใจท่านหล่ะ วันนี้ก็เช่นกัน เจอท่านยามเช้า เห็นท่านท่าทางอารมณ์ดี คงไม่รำคาญผมแน่เลยเข้าไปนมัสการถามท่านว่า ไม่เข้าใจว่าชาววัดใจเย็นกันจัง เพราะแต่ละเรื่องที่มาถึงวัดนี่ มันเรื่องร้อนๆทั้งนั้น ท่านก็ถามใครร้อนหล่ะ ที่วัด ไม่เห็นเขาจะร้อนกัน หลวงพ่อก็สอนธรรมะไป ไม่เห็นขาดสักวัน พระเณร เจ้าหน้าที่ อุบาสก อุบาสิกา คนงาน ก็สวดมนต์ภาวนากันไป แผ่เมตตาให้ผู้ที่รัก เราเป็นพิเศษไป เผื่อจิตใจเขาจะได้อ่อนโยนมั่ง น้าน ท่านมีแถมด้วย เอาหล่ะ ผมเห็นจังหวะเหมาะเลยถามท่านเข้าประเด็นสำคัญด้วยความอยากรู้ว่า ที่เขา พูดๆกันเรื่องหลวงพ่อยักยอกที่วัด มันยังไงกัน ในฐานะที่ท่านเคยเป็นทนาย มาก่อน ท่านมองหน้าผมแล้วถามกลับ นี่ไปแอบสืบประวัติท่านมาเหรอ อ๊ะ ก็ธรรมดานะครับ จะถามใครก็ต้องถามให้ถูกเรื่อง ท่านไม่ตอบทันที แต่ยิ้มๆ (พระวัดนี้ทำไมชอบยิ้มจัง วันหลังคงต้องถามกันมั่งหล่ะ) ท่านบอกว่า ภาษาไทย เรามันลึกซึ้ง แค่ออกเสียงผิดที่ หรือใช้คำไม่ถูกก็มีปัญหา ว่าแล้วท่านก็ยกตัวอย่าง ยาเขาดี้ดี แต่พอโฆษณา อ่านเว้นวรรคไม่ถูก แย่เลย เช่น ยานี้ดี กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน   ไปอ่านซะว่า ยานี้ดี กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน ไงหล่ะจะกล้าซื้อไหม น้าน ท่านมีอารมณ์ขันซะอีก แถมบอกอีกว่า บางทีอ่าน แยกคำไม่ถูกก็งงได้นะ พร้อมยกตัวอย่างเสร็จสรรพ  ประโยคว่า เขายืนตากลม ไปอ่านว่า เขายืน ตา กลม  หรือ ป ปลา ตา กลม ไปอ่านว่า ป ปลา ตาก ลม คงได้ขำกันกลิ้ง น้าน พระอาจารย์ผม มีมุขครับ มีมุข และแล้วท่านก็เข้าเรื่องว่า จริงๆเรื่องนี้ไม่มีอะไร ก็ปัญหาแค่เรื่องการใช้คำแหละ ผมก็งง มันยังไงหล่ะครับ ท่านบอก แค่คำว่า คืน กับคำว่า ยกให้ แค่นี้ก็มีปัญหา ผมก็ถามต่อยังไงหล่ะครับ ช่วยอธิบายหน่อย ท่านก็ยกตัวอย่างว่า คืนนี่ ของนั้นต้องเป็นของผู้อื่น แล้วเราคืนเขาไป ใช่ไหม  ส่วนยกให้นี่คือ ของเราแล้วเอาให้เขาใช่ไหม ผมเลยถึงบางอ้อ ท่านก็บอก แค่นี้แหละ ที่ดินนั่น ญาติโยมเขาน้อมถวายหลวงพ่อ เขาประกาศปาวๆทั้งสภาธรรมกายสากล ตั้งสามครั้ง เมื่อมันเป็นของท่าน เมื่อท่านให้วัด ต้องใช้คำว่า ท่าน ยกให้  ไม่ใช่ คืนให้   ปัญหาก็อยู่แค่นี้เอง พอเข้าใจคำ ก็จะไม่หลงประเด็น ว่าแล้วท่านก็ยกกฎหมายมาให้ผมดู ผมแอบนึกในใจ โฮ พอพูดเรื่องกฎหมายนี่ท่านตาเป็นประกาย วิญญาณทนายออกมาเชียว อันนี้นึกนะ ไม่กล้าพูด กลัวท่านไม่คุยต่อ ท่านบอก มาตรา 352 ประมวลกฎหมายอาญา บอกชัด ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของ ผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือ บุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ...(อ๊ะ แม่นกระทั่งมาตรา) ท่านบอกว่า เห็นหรือยังว่า ปัญหาอยู่ที่การใช้คำ ชัดไหมว่า ที่ดินของหลวงพ่อ ท่าน ยกให้ ไม่ใช่คืนให้ แล้วท่านก็พูดต่อว่า ตัวท่านเองเมื่อบวชมาก็ไม่เอาอะไร ญาติพี่น้องตามไปรับมรดก ท่านยังไม่สนใจ แล้วนับประสาอะไรกับหลวงพ่อ ที่ท่านมีมโนปณิธานจะสนองงานหลวงปู่วัดปากน้ำ จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ อยู่ในผ้าเหลืองมาจนอายุเจ็ดสิบสองแล้ว ท่านจะไปสนใจอะไรกับสมบัตินอกตัว ว่าจบท่านก็เดินไปคงเบื่อคุยกับผมแล้ว แต่ก็ยังไม่วายหันมาให้คำคมทิ้งท้ายว่า
“คนพาลมักเอาความคิดของตนมาตัดสินความคิดของบัณฑิต”

Cr.อนาคาริก



ความสำคัญของการสื่อสาร ความสำคัญของการสื่อสาร Reviewed by asabha072 on 11:46 PM Rating: 5

No comments:

Powered by Blogger.