หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๒) เกี้ยวในชามข้าวต้ม


หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๒)
เกี้ยวในชามข้าวต้ม


     ตั้งแต่ครั้งที่หลวงพ่อธัมมชโยท่านได้พบกับคุณยาย สิ่งที่อยู่ในใจของท่านตลอดมา คือ การปฏิบัติธรรม แม้วันไหนที่มีสอบท่านยังไม่เว้นที่จะต้องไปพบคุณยายให้ได้ ดังนั้น เมื่อมาสร้างวัด สิ่งที่ท่านหวังก็คือ การให้ผู้มาร่วมสร้างบารมีกับท่าน ได้มีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน มั่นคง ซึ่งไม่มีวิธีไหนจะดีไปกว่า การมีผลการปฏิบัติธรรมที่ดี





     ในช่วงที่อาตมาบวชใหม่ ๆ ได้ ๓ พรรษานั้น วัดของเรายังไม่มีสถานที่ปฏิบัติธรรมของตนเอง ต้องอาศัยการไปใช้ที่ของอุทยานแห่งชาติที่ดอยสุเทพ-ปุยบ้าง หรือที่ภูกระดึงบ้าง เนื่องจากหลวงพ่อท่านเข้าใจธรรมชาติของลูก ๆ ว่าการเป็นผู้ฝึกใหม่ จำเป็นจะต้องมีที่ที่เป็นสัปปายะหรือที่ที่สบาย เหมาะสมทั้งเรื่องที่พัก อาหาร ผู้คนรอบตัว และธรรมะ

     ท่านจึงเสาะแสวงหาสถานที่ต่าง ๆ เพื่อผลการปฏิบัติธรรมที่ดีให้กับลูก ๆ ที่เป็นแก้วตาดวงใจของท่าน



     มีครั้งหนึ่งที่อาตมาได้มีโอกาสตามหลวงพ่อและหมู่คณะไปปฏิบัติธรรมที่ภูกระดึง ที่นี่เองทำให้อาตมาได้เห็นคุณธรรมในเรื่องการรักการปฏิบัติธรรมของท่าน กล่าวคือ ปกติในรอบเช้ามืด จะเริ่มนั่งธรรมะกันในเวลา ๐๔.๓๐ น. ทุกครั้งที่อาตมามาถึงห้องปฏิบัติธรรม ก็จะเห็นหลวงพ่อท่านนั่งหลับตาอยู่ก่อนแล้ว วันต่อมาอาตมาอยากรู้ว่าท่านมาตอนไหน เลยยอมตื่นแต่เช้า แล้วเข้าห้องปฏิบัติธรรมเวลา ๐๔.๐๐ น. เมื่อไปถึงก็เห็นหลวงพ่อนั่งหลับตาอยู่ วันต่อมาเลยมาเช้ากว่าเดิม คือ ไปถึงห้องในเวลา ๐๓.๓๐ น. ก็พบว่าท่านนั่งอยู่ก่อนแล้วเช่นเคย เลยต้องยอมแพ้ และไม่กล้าถามท่านว่าท่านมาตอนไหน และจนกระทั่งถึงวินาทีนี้ ก็ยังไม่กล้าถามท่านอยู่ดี


     ความประทับใจที่มีต่อท่านนั้น หากจะว่าไปแล้วมันมีมากมาย ไม่ใช่เพียงเรื่องการปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของคำพูดที่ท่านจะมีวิธีสอนลูก ๆ โดยไม่ให้ลูก ๆ รู้สึกว่าถูกตำหนิ เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ภูกระดึงนี่เอง หลังจากปฏิบัติธรรมในรอบเช้ามืดเสร็จเวลา ประมาณ ๐๗.๐๐ น. ก็จะมาฉันหรือทานข้าวกันที่โรงอาหาร จำได้ดีว่า อาหารเช้าวันนั้นคือ ข้าวต้ม พวกเราก็ฉันกันอย่างเอร็ดอร่อย หลังจากฉันเสร็จก็ทิ้งทิชชูไว้ที่ชามข้าวต้ม โดยไม่ได้คิดอะไรกัน


     อย่างที่เคยเล่าให้พวกเราฟังในตอนที่ ๑ ว่า หลวงพ่อท่านจะสอนพวกเราทั้งหยาบและละเอียด คำว่า หยาบ ในที่นี้คือ เรื่องของความเป็นอยู่และการปฏิบัติตัว ส่วนละเอียด คือ เรื่องของการปฏิบัติธรรม ดังนั้นพอพวกเราฉันเสร็จ หลวงพ่อท่านจะเดินมาดู คอยถามเราว่าอาหารเป็นไงบ้าง ถูกปากไหม แล้วท่านก็มองไปที่ชามข้าวต้มของพวกเรา มองแล้วท่านก็มองหน้า พร้อมกับพูดนิ่ม ๆ แต่เราฟังแล้วรู้สึกผิดขึ้นมาในใจ และสัญญากับตัวเองเลยว่า แต่นี้ต่อไปทั้งชีวิตจะไม่ทำอีกแล้ว คำพูดของท่านไม่มีคำตำหนิแม้แต่คำเดียวจริง ๆ ท่านพูดช้า ๆ ชัด ๆ ว่า

     “ เอ๊ะ ทำไมกับข้าวพวกเรากับหลวงพ่อไม่เหมือนกันหล่ะ ของหลวงพ่อเป็นข้าวต้ม แต่ทำไมพวกเรามีเกี๊ยวด้วยหรือ ”

     หากใครยังสงสัยว่า หลวงพ่อหมายถึงอะไร ก็ลองเอาทิชชูที่ขยุ้ม ๆ ทิ้งลงในชามข้าวต้มก็จะนึกภาพออก

     ฝากเป็นข้อคิดกับคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย การสอนลูกไม่จำเป็นต้องใช้การดุด่าแต่อย่างใด ใช้วิธีแบบหลวงพ่อนี่แหละ

ครั้งเดียวอาตมาจำจนตายเลยหล่ะ




ขอขอบคุณภาพจาก google.com
อาสภกันโต ภิกขุ
๑๖ ก.ค. ๕๙
หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๒) เกี้ยวในชามข้าวต้ม หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๒) เกี้ยวในชามข้าวต้ม Reviewed by asabha072 on 6:43 AM Rating: 5

12 comments:

  1. กราบ..เลย จี๊ดดดดดมาก

    ReplyDelete
  2. สุดยอดคำสอนค่ะ
    รักหลวงพ่อที่สุดเลยยยย
    รักเคารพและสรรเสริญเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้วแต่เหมือนก็ยังไม่พอท่านเลิศล้ำเกินคำบรรยายค่ะ

    ReplyDelete
  3. สุดยอดเป็นครั้งที่ 2 ช่วยเขียนอีกนะคะ ชอบจังเลย

    ReplyDelete
  4. สาธุ เจ้าค่ะ เจ้าใจเลยว่าคำว่า sofe จี๊ดหมายถึงอะไรค่ะ

    ReplyDelete
  5. สาธุ เจ้าค่ะ เจ้าใจเลยว่าคำว่า sofe จี๊ดหมายถึงอะไรค่ะ

    ReplyDelete
  6. หลวงพ่อท่านมีเมตตามากๆ

    ReplyDelete
  7. หลวงพ่อสอนให้คิด ถ้าไม่คิดตามจะไม่เข้าใจว่าท่านต้องการจะสื่ออะไร

    ReplyDelete
  8. แม้คำตำหนิก็ยังให้กำลังใจ

    ReplyDelete
  9. คำสอบที่เรียบง่าย แต่ต้องกลับไปคิด สาธุ

    ReplyDelete
  10. กราบสาธุ เจ้าคะ

    ReplyDelete
  11. พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยธรรมะของท่านสูงและละเอียดใจท่านละเอียด ท่านรักความสะอาดความมีระเบียบวินัยวัดพระธรรมกายฝึกปฎิบัติเจริญสมาธิภาวนาเป็นหลัก ครั้งแรกที่มีกัลยาณมิตรใหม่มาวัดพระธรรมกายก็จะเรีบนทำภาวนา่กันเลยจึงมีผู้ที่รักวัดพระธรรมกายรักหลวงพ่อธํมมชโยเมื่อเข้ามาสู่ร่มเงาของวัดพระธรรมกาย้ป็นจำนวนมาก

    ReplyDelete

Powered by Blogger.