คำถามถึงพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)


คำถามถึงพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)


            ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อต้องการให้เกิดความชัดเจนในสังคม ไม่ได้มีเจตนาจะหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นหน่วยงานราชการ หรือบุคคลใดทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดกันบ่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ได้รับความชัดเจนสักที ทำให้เกิดความเคลือบแคลงในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
            โดยหลักของกระบวนการยุติธรรมนั้นจะมีกระบวนการดังนี้
๑. มีการแจ้งความร้องทุกข์ กล่าวโทษ
๒. พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน
๓. เมื่อเห็นว่าคดีมีมูล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิด
     ก็ให้เรียกผู้ถูกกล่าวหานั้นมารับทราบข้อกล่าวหาในฐานะผู้ต้องหา
๔. สำหรับผู้ต้องหาเมื่อมีหมายเรียก
            - หากมาพบพนักงานสอบสวน ก็จะถูกแจ้งข้อกล่าวหา
            - หากไม่มาหรือหลบหนี ก็จะถูกออกหมายจับ
๕. เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะสรุปสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็น เสนอไปยังพนักงานอัยการ
๖. เมื่อพนักงานอัยการรับเรื่องแล้ว จะมีคำสั่งเป็น ๓ แบบ คือ
            - สั่งฟ้อง
            - สั่งไม่ฟ้อง
            - ส่งเรื่องมาที่พนักงานสอบสวนให้สอบสวนเพิ่มเติม
๗. หากพนักงานอัยการเห็นควรสั่งฟ้อง ก็จะต้องนำตัวผู้ต้องหาส่งฟ้องศาล
            ในประเด็นที่สงสัยกันคือ เรื่องของพระพุทธอิสระกับนายไพบูลย์ นิติตะวัน
ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเกี่ยวกับกบฎ ขอแยกแต่ละกรณี ดังนี้


เรื่องของพระพุทธอิสระ
            ได้ดำเนินไปตามขั้นตอน จนถึงขั้นตอนที่พนักงานอัยการมีคำสั่งให้ทำการสอบสวนเพิ่มเติม
            ประเด็นที่สงสัยคือ เวลาผ่านไปถึงสองปีแล้ว ทำไมการสอบสวนเพิ่มเติม จึงยังไม่เสร็จสิ้นใช้เวลานานผิดปกติ และจะเสร็จสิ้นเมื่อใด ?


เรื่องของนายไพบูลย์ นิติตะวัน
            จากข้อมูลที่ทราบมาคือ เมื่อมีการร้องทุกข์ กล่าวโทษเกิดขึ้น พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จ และมีความเห็นสั่งฟ้อง จากนั้นก็ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการ โดยไม่มีขั้นตอนของการเรียกมาแจ้งข้อหา จึงเป็นเหตุให้ไม่มีการออกหมายเรียกหรือหมายจับ
            ประเด็นที่สงสัยคือ
            ๑. การที่พนักงานสอบสวนทำอย่างนี้ เป็นการทำผิดขั้นตอนหรือไม่ ?
            ๒. หลังจากนั้น นายไพบูลย์ นิติตะวัน ได้ไปปรากฏตัวที่ DSI  และเข้าร่วม พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ DSI หลายครั้ง เหตุใด DSI จึงไม่แจ้งข้อกล่าวหากับนายไพบูลย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๓๔   การกระทำของ DSI จะเข้าข่ายความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ม. ๑๕๗ และฐานเป็นพนักงานสอบสวน กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือผู้ต้องหา เพื่อมิให้ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๐ หรือไม่ ?
            ๓. จากการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของ DSI เป็นการกระทำความผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ ?

               ผมคงไม่คาดหวังว่า คำถามนี้จะได้รับคำตอบเนื่องจากเคยตั้งคำถามหลายครั้งแล้ว แต่ไม่เคยได้รับคำตอบ เช่น คำถามว่าหมายเรียกพระเทพญาณมหามุนี ทำไมจึงหลุดไปที่สื่อบางฉบับก่อนที่จะส่งมาให้เจ้าตัว ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ต้องหาผู้ผิดมาลงโทษให้ได้ ว่าเอกสารที่หลุดไปก่อนนั้นเป็นของจริงหรือปลอม เพราะมีบางแห่งที่แตกต่างจากเอกสารที่ส่งมายังผู้ต้องหา หากปลอมก็ต้องดำเนินการเอาผิดกับผู้ปลอมเอกสารราชการ แต่หากเป็นเอกสารที่ถูกต้อง ก็ต้องดำเนินคดีกับผู้ที่ให้เอกสารนั้นกับสื่อฉบับนั้น


            ทั้งหมดนี้คือ สิ่งที่ศิษย์วัดพระธรรมกายตั้งเป็นข้อสงสัยจนเป็นเหตุให้ ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมครับผม




ขอขอบคุณภาพจาก google.com
อนาคาริก
07/07/16
คำถามถึงพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) คำถามถึงพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) Reviewed by asabha072 on 7:01 AM Rating: 5

14 comments:

  1. ไม่ตอบเพราะตอบไม่ได้ มันเป็นอคติ มีธงที่จะปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐานอยู่แล้ว ?
    เราไม่เชื่อมั่นในกระบวนการอยุติธรรม !!

    ReplyDelete
    Replies
    1. ไม่มีแม้สักมาตรฐาน

      Delete
    2. ไม่มีแม้สักมาตรฐาน

      Delete
  2. แล้วอย่างนี้ จะให้เราเชื่อได้ยังไงว่ามีความยุติธรรม จะให้เชื่อได้ยังไงว่าดำเนินการตามขั้นตอน จะให้เชื่อได้ยังไงว่าไม่2มาตรฐาน จะเอาอะไรมาให้เชื่อล่ะ อมโบสธ์มาพูดยังไม่เชื่อเลย เห็น ๆ อยู่ว่าปฏิบัติกับพระกับวัดยังไง ไม่ได้โง่ ไม่ได้โดนกะลาครอบนะ คิดเองได้ ถึงแม้ว่าจะออกสื่อ ใช้วาทกรรมรายวันเป่าหูก็เถอะ ขอโทษนะ ฉลาดค่ะ ไม่โดนหลอกง่าย ๆ ร๊อกกกก

    ReplyDelete
  3. " อำนาจเสมือนดาบ 2 คม อันตรายๆๆ !!! "

    ReplyDelete
  4. เราไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมหลายต่อหลายข้อ ผู้มีอำนาจใช้กฎหมาย มีหลายมาตรฐาน มีอคติในการปฏิบัติหน้าที่ เราจึงไม่เชื่อถือ ไม่ไว้วางใจ แต่เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อธัมมชโย

    ReplyDelete
  5. เราไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมหลายต่อหลายข้อ ผู้มีอำนาจใช้กฎหมาย มีหลายมาตรฐาน มีอคติในการปฏิบัติหน้าที่ เราจึงไม่เชื่อถือ ไม่ไว้วางใจ แต่เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อธัมมชโย

    ReplyDelete
  6. ทำให้เราในสังคมเข้าใจได้ว่า..ตอนนี้ประเทศไทยไม่มีมาตรฐานอยากทำอะไรก้อทำได้ถ้ามีเงิน..มีอำนาจ...น่าเศร้าจริงๆประเทศไทย

    ReplyDelete
  7. พฤติกรรมส่อเจตนา กรรมจำแนกสัตว์

    ReplyDelete
  8. พฤติกรรมส่อเจตนา กรรมจำแนกสัตว์

    ReplyDelete
  9. เราไม่เชื่อมั่นในการทำงานของDSI ชัดเจนมากค่ะ ดีมากอยากให้ทุกๆได้อ่านและช่วยกันแชร์เยอะๆค่ะ

    ReplyDelete
  10. ชัดเจนปักธงแล้วให้วัดบริสุทธิ์อย่างไรก็ตามจะกุเรื่องสร้างภาพทำทุกอย่างให้เป็นผิดให้ได้ ก็ทำทันทีและได้ผลนะกับสังคมที่ผู้คนไม่มาพิสูจน์ความจริงแท้ที่วัดเฉพาะกลุ่มนี้เท่านั้นและเกลียดวัดด้วยความไม่รู้ความแท้จริง/ส่วนลูกศิษย์หลวงพ่อที่มีทั่วโลกและรู้ความจริงแท้ความดีของหลวงพ่อท่านที่ทำมาตลอดกว่า50ปีนั้น จึงทำให้ต้องนำความจริงมากระจ่ายให้คนที่เป็นเหยื่อสื่อผิดๆได้รับรู้ความแท้จริง ว่า ประเทศไทยตอนนี้ไม่มีความยุติธรรม ตื่นได้แล้ว** ก่อนที่จะสูญสิ้นพระพุทธศาสนาและประชาธิปไตรที่มีความยุติธรรมเป็นหลักปฎิบัติ

    ReplyDelete
  11. คนมีอำนาจขาดศีลธรรมขาดคุณธรรมสังคมบัานเมีองประชาชนเดือดร้อนคะ

    ReplyDelete
  12. ผูัมีอำนาจขาดศีลธรรมขาดคุณธรรมประชาชนสังคมบัานเมืองเดือดรัอนคะ

    ReplyDelete

Powered by Blogger.