หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๒) เกี้ยวในชามข้าวต้ม
หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๒)
เกี้ยวในชามข้าวต้ม
เกี้ยวในชามข้าวต้ม
ในช่วงที่อาตมาบวชใหม่ ๆ ได้ ๓ พรรษานั้น วัดของเรายังไม่มีสถานที่ปฏิบัติธรรมของตนเอง ต้องอาศัยการไปใช้ที่ของอุทยานแห่งชาติที่ดอยสุเทพ-ปุยบ้าง หรือที่ภูกระดึงบ้าง เนื่องจากหลวงพ่อท่านเข้าใจธรรมชาติของลูก ๆ ว่าการเป็นผู้ฝึกใหม่ จำเป็นจะต้องมีที่ที่เป็นสัปปายะหรือที่ที่สบาย เหมาะสมทั้งเรื่องที่พัก อาหาร ผู้คนรอบตัว และธรรมะ
ท่านจึงเสาะแสวงหาสถานที่ต่าง ๆ เพื่อผลการปฏิบัติธรรมที่ดีให้กับลูก ๆ ที่เป็นแก้วตาดวงใจของท่าน
มีครั้งหนึ่งที่อาตมาได้มีโอกาสตามหลวงพ่อและหมู่คณะไปปฏิบัติธรรมที่ภูกระดึง ที่นี่เองทำให้อาตมาได้เห็นคุณธรรมในเรื่องการรักการปฏิบัติธรรมของท่าน กล่าวคือ ปกติในรอบเช้ามืด จะเริ่มนั่งธรรมะกันในเวลา ๐๔.๓๐ น. ทุกครั้งที่อาตมามาถึงห้องปฏิบัติธรรม ก็จะเห็นหลวงพ่อท่านนั่งหลับตาอยู่ก่อนแล้ว วันต่อมาอาตมาอยากรู้ว่าท่านมาตอนไหน เลยยอมตื่นแต่เช้า แล้วเข้าห้องปฏิบัติธรรมเวลา ๐๔.๐๐ น. เมื่อไปถึงก็เห็นหลวงพ่อนั่งหลับตาอยู่ วันต่อมาเลยมาเช้ากว่าเดิม คือ ไปถึงห้องในเวลา ๐๓.๓๐ น. ก็พบว่าท่านนั่งอยู่ก่อนแล้วเช่นเคย เลยต้องยอมแพ้ และไม่กล้าถามท่านว่าท่านมาตอนไหน และจนกระทั่งถึงวินาทีนี้ ก็ยังไม่กล้าถามท่านอยู่ดี
ความประทับใจที่มีต่อท่านนั้น หากจะว่าไปแล้วมันมีมากมาย ไม่ใช่เพียงเรื่องการปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของคำพูดที่ท่านจะมีวิธีสอนลูก ๆ โดยไม่ให้ลูก ๆ รู้สึกว่าถูกตำหนิ เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ภูกระดึงนี่เอง หลังจากปฏิบัติธรรมในรอบเช้ามืดเสร็จเวลา ประมาณ ๐๗.๐๐ น. ก็จะมาฉันหรือทานข้าวกันที่โรงอาหาร จำได้ดีว่า อาหารเช้าวันนั้นคือ ข้าวต้ม พวกเราก็ฉันกันอย่างเอร็ดอร่อย หลังจากฉันเสร็จก็ทิ้งทิชชูไว้ที่ชามข้าวต้ม โดยไม่ได้คิดอะไรกัน
อย่างที่เคยเล่าให้พวกเราฟังในตอนที่ ๑ ว่า หลวงพ่อท่านจะสอนพวกเราทั้งหยาบและละเอียด คำว่า หยาบ ในที่นี้คือ เรื่องของความเป็นอยู่และการปฏิบัติตัว ส่วนละเอียด คือ เรื่องของการปฏิบัติธรรม ดังนั้นพอพวกเราฉันเสร็จ หลวงพ่อท่านจะเดินมาดู คอยถามเราว่าอาหารเป็นไงบ้าง ถูกปากไหม แล้วท่านก็มองไปที่ชามข้าวต้มของพวกเรา มองแล้วท่านก็มองหน้า พร้อมกับพูดนิ่ม ๆ แต่เราฟังแล้วรู้สึกผิดขึ้นมาในใจ และสัญญากับตัวเองเลยว่า แต่นี้ต่อไปทั้งชีวิตจะไม่ทำอีกแล้ว คำพูดของท่านไม่มีคำตำหนิแม้แต่คำเดียวจริง ๆ ท่านพูดช้า ๆ ชัด ๆ ว่า
“ เอ๊ะ ทำไมกับข้าวพวกเรากับหลวงพ่อไม่เหมือนกันหล่ะ ของหลวงพ่อเป็นข้าวต้ม แต่ทำไมพวกเรามีเกี๊ยวด้วยหรือ ”
หากใครยังสงสัยว่า หลวงพ่อหมายถึงอะไร ก็ลองเอาทิชชูที่ขยุ้ม ๆ ทิ้งลงในชามข้าวต้มก็จะนึกภาพออก
ฝากเป็นข้อคิดกับคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย การสอนลูกไม่จำเป็นต้องใช้การดุด่าแต่อย่างใด ใช้วิธีแบบหลวงพ่อนี่แหละ
ครั้งเดียวอาตมาจำจนตายเลยหล่ะ
ขอขอบคุณภาพจาก google.com
อาสภกันโต ภิกขุ
๑๖ ก.ค. ๕๙
หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๒) เกี้ยวในชามข้าวต้ม
Reviewed by asabha072
on
6:43 AM
Rating:
กราบ..เลย จี๊ดดดดดมาก
ReplyDeleteสุดยอดคำสอนค่ะ
ReplyDeleteรักหลวงพ่อที่สุดเลยยยย
รักเคารพและสรรเสริญเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้วแต่เหมือนก็ยังไม่พอท่านเลิศล้ำเกินคำบรรยายค่ะ
สุดยอดเป็นครั้งที่ 2 ช่วยเขียนอีกนะคะ ชอบจังเลย
ReplyDeleteสาธุ เจ้าค่ะ เจ้าใจเลยว่าคำว่า sofe จี๊ดหมายถึงอะไรค่ะ
ReplyDeleteสาธุ เจ้าค่ะ เจ้าใจเลยว่าคำว่า sofe จี๊ดหมายถึงอะไรค่ะ
ReplyDeleteหลวงพ่อท่านมีเมตตามากๆ
ReplyDeleteหลวงพ่อสอนให้คิด ถ้าไม่คิดตามจะไม่เข้าใจว่าท่านต้องการจะสื่ออะไร
ReplyDeleteแม้คำตำหนิก็ยังให้กำลังใจ
ReplyDeleteคำสอบที่เรียบง่าย แต่ต้องกลับไปคิด สาธุ
ReplyDeleteกราบสาธุ !!!
ReplyDeleteกราบสาธุ เจ้าคะ
ReplyDeleteพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยธรรมะของท่านสูงและละเอียดใจท่านละเอียด ท่านรักความสะอาดความมีระเบียบวินัยวัดพระธรรมกายฝึกปฎิบัติเจริญสมาธิภาวนาเป็นหลัก ครั้งแรกที่มีกัลยาณมิตรใหม่มาวัดพระธรรมกายก็จะเรีบนทำภาวนา่กันเลยจึงมีผู้ที่รักวัดพระธรรมกายรักหลวงพ่อธํมมชโยเมื่อเข้ามาสู่ร่มเงาของวัดพระธรรมกาย้ป็นจำนวนมาก
ReplyDelete