หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๗๓) การประคับประคองคน (ตอนที่ ๑)



หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๗๓)

การประคับประคองคน (ตอนที่ ๑)


     ในเรื่องของการบริหารซึ่งประกอบด้วยบริหารงาน บริหารเงิน บริหารคน การบริหารคนนับว่าเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากที่สุด เพราะคนมีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกนึกคิด จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดูแล


     หลวงพ่อทั้งสองเป็นยอดของนักบริหารคน ที่สามารถทำให้ลูก ๆ ในองค์กรซึ่งมาจากร้อยพ่อพันแม่ มาจากสภาพครอบครัว สภาพแวดล้อม สถานะทางการศึกษาที่แตกต่างกัน มาอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

     อย่าว่าแต่ความเชื่อที่เหมือนกันเลย แม้แต่ต่างความเชื่อ หลวงพ่อยังสามารถทำให้เขาอยู่อย่างมีความสุขได้


     ครั้งหนึ่งหลวงพ่อธัมมชโยเคยเล่าว่า มีชาวต่างชาติมาพักค้างปฏิบัติธรรมที่วัด แล้วแม่ของเขาโทรมาถามว่า ยังเป็นชาวคริสต์ที่ดีอยู่หรือไม่ เขาไม่รู้จะตอบอย่างไร ท่านแนะให้ตอบไปเลยว่า ได้ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาทุกวัน ทำให้แม่ของเขาพอใจมาก

     เมื่ออาตมาไปทำงานเผยแผ่ที่อเมริกา อาตมาประทับใจและทึ่งในโอวาทของหลวงพ่อทั้งสอง เนื่องจากเข้าไปกราบหลวงพ่อธัมมชโยก่อน แล้ววันจะเดินทางค่อยไปกราบหลวงพ่อทัตตชีโว แต่โอวาทของท่านกลับเหมือนกันแทบจะคำต่อคำ

     “ ...ให้ท่านทำความเข้าใจว่า ในตัวของมนุษย์ทุกคนมีพระธรรมกายในตัวอยู่ ดังนั้นให้พาเขาปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงความจริงภายในอันนี้ หลวงพ่อไม่ต้องการให้ท่านไปเปลี่ยนแปลงความเชื่ออะไรของเขา ให้เขามีความสุขกับการมาพบหมู่คณะ...”

     จากโอวาทนี้จึงเป็นนโยบายสำคัญที่หมู่คณะนำไปใช้ในการทำงาน ปัจจุบันจึงมีชาวท้องถิ่นหลายท่านเข้ามาช่วยงานที่วัดทั้งช่วยทำเอกสาร แปลโอวาทหลวงพ่อ

 
     หลวงพ่อทัตตชีโวจะคอยย้ำอยู่บ่อย ๆ ให้ประคับประคองเขาให้ดี

     “ หลวงพ่อครับ แล้วจะประคับประคองเขาอย่างไรดีครับ ”

     “ เอ็งก็ต้องสร้างสัปปายะ ๔ ให้ดี ทั้งอาวาส อาหาร บุคคล ธรรมะ ต้องให้พร้อม ให้เขามาแล้วรู้สึกว่าเขาได้อะไร อย่าลืมว่าโดยทั่วไปคนตะวันตกเขาก็จะถือตัวว่าเขาเหนือกว่าคนตะวันออกอยู่แล้ว หากเราไม่สามารถสร้างมาตรฐานให้เท่ากับหรือดีกว่าเขาได้ ก็ยากที่เขาจะยอมรับ หากเขาไม่ยอมรับแล้วจะเอาวิชชาธรรมกายไปได้อย่างไร ”


     ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่เอาเข้าจริงเมื่อลงมือจัดการเรื่องสัปปายะ ไม่ง่ายอย่างที่คิดเลย เพราะจะต้องมีการปรับภายในของเราเองก่อน

     ๑. เรื่องสถานที่ ก็ต้องดู ต้องใช้มาตรฐานของที่เขาใช้กัน จะเอาเราเป็นเกณฑ์ไม่ได้

     ๒. เรื่องอาหาร ก็ต้องมีทั้งสำหรับชาวเอเซีย และชาวท้องถิ่น เวลาจัดงานก็ต้องมีที่อุ่นอาหาร รักษาอาหารให้ได้อุณหภูมิที่เขากำหนด ต้องระวังไม่ให้มีแมลงวัน แมลงสาบ และต้องไม่เอาอาหารที่มีกลิ่นแรง ฯลฯ

     ๓. เรื่องบุคคล ก็ต้องมาปรับคนของเรา ที่เคยทำอะไรตามแบบไทย ๆ ก็ต้องมาปรับ อาตมาเคยหน้าแตกมาแล้ว จัดงานแล้วไม่เป็นไปตามกำหนดการ ชาวท้องถิ่นเขาหันไปซุบซิบกัน “ Thai time ” (เวลาไทย) 
     แม้แต่การปฏิบัติธรรมก็ต้องจัดแยกคนของเรากับคนท้องถิ่น เนื่องจากมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

     ๔. เรื่องธรรมะ นี่ก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะต้องไม่ให้ไปกระทบความเชื่อของเขา ต้องให้เขาใจเปิดในการเรียนรู้


     อ่านถึงตรงนี้ พวกเราอาจจะคิดว่าน่าหนักใจ แต่ขอบอกว่า ทีมงานไม่ได้หนักใจอะไรเลย หากอยากรู้ว่าทำไมจึงไม่หนักใจ
 
โปรดติดตามตอนต่อไป





ขอขอบคุณภาพจากgoogle.com และภาพดีๆ 072
อาสภกันโต ภิกขุ
๙ ต.ค. ๕๙

            
หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๗๓) การประคับประคองคน (ตอนที่ ๑) หลวงพ่อสอนอะไร(ตอนที่ ๗๓)  การประคับประคองคน (ตอนที่ ๑) Reviewed by asabha072 on 11:57 PM Rating: 5

43 comments:

  1. ใจจรดใจจ่อรอตอนต่อไปครับพระอาจารย์..

    ReplyDelete
  2. กราบอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ รออยู่นะเจ้าคะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. เรามาติดตามตอนต่อไปกันคะ.

      Delete
  3. กราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ

    ReplyDelete
  4. กราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ

    ReplyDelete
  5. ได้ความรู้ในการนำไปใช้ได้เลย ขอบพระคุณพรอาจารย์ที่ถ่ายทอดให้เรารู้

    ReplyDelete
  6. อยากทราบไวๆจังเลยครับ สาธุ สาธุ สาธุ ครับ

    ReplyDelete
  7. อยากทราบไวๆจังเลยครับ สาธุ สาธุ สาธุ ครับ

    ReplyDelete
  8. ได้แนวทางในการสร้างบารมีต่างแดนเลยค่ะ

    ReplyDelete
  9. #ท่านสอนแต่สิ่งที่ดีให้ลูกศิษย์ตลอดมา..คิดดี พูดดี ทำดี ทั้งต่อตนเองและคนทั้งโลก

    ReplyDelete
  10. ได้แนวทางที่ดีมาก และรออ่านตอนต่อไปครับ

    ReplyDelete
  11. อนุโมทนาบุญสาธุสาธุ

    ReplyDelete
  12. กราบอนุโมทนาบุญกับผู้มีบุญ
    ทุกท่านด้วยครับ สาธุครับ

    ReplyDelete
  13. กราบอนุโมทนาบุญกับผู้มีบุญ
    ทุกท่านด้วยครับ สาธุครับ

    ReplyDelete
  14. กราบอนุโมทนาสาธุครับ

    ReplyDelete
  15. กราบอนุโมทนาสาธุครับ

    ReplyDelete
  16. คำสอนอันทรงคุณค่าควรอยู่คู่โลกใบนี้ไปอีกนานแสนนานถึงลูกถึงหลานและอีกต่อๆไปเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์ล้ำค่ายิ่ง..ใครศึกษาจะได้เข้าถึงธรรมกันได้โดยสะดวกสบายง่ายดายโดยทั่วกัน...

    ReplyDelete
  17. กราบอนุโมทนาสาธุครับ

    ReplyDelete
  18. สิ่งสำคัญคือ ต้องสร้างสัปปยะ 4 สาธุค่ะ

    ReplyDelete
  19. ...รอติดตามตอนต่อไปค่ะ :)

    ReplyDelete
  20. ปูเสื่อรอ_คะ

    ReplyDelete
  21. กราบสาธุ สาธุ สาธุค่ะ
    ชอบที่สุดค่ะ

    ReplyDelete
  22. สาธุๆๆ กราบอนุโมทนาบุญครับ
    "การประคับประคองคน" นี้เป็นหน้าที่กัลยาณมิตรประการหนึ่งที่สำคัญทีเดียวฯ

    ReplyDelete
  23. อาหารกลิ่นแรงนี่อะไรครับในสัปปายะข้อ2 ในตอนต่อไปช่วยเฉลยหน่อยครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. คือ พวกอาหารที่ส่งกลิ่นมาก ๆ ไปรบกวนเพื่อนบ้าน ที่เขาไ่ม่คุ้นกับอาหารบ้านเราครับ เช่น พวกคะน้าปลาเค็ม หรือผัดกะเพรา อาหารพวกนี้ต้องให้ทำมาจากบ้าน ไม่ให้ปรุงในวัดครับ เนื่องจากวัดติดกับชาวบ้านเลยครับผม

      Delete
  24. อาหารกลิ่นแรงนี่อะไรครับในสัปปายะข้อ2 ในตอนต่อไปช่วยเฉลยหน่อยครับ

    ReplyDelete
  25. รอติดตามตอนต่อไปคะ

    ReplyDelete
  26. ทีหลังขอเป็นตอนเดียวจบได้ไหมคะ วัยรุ่นใจร้อน ไม่ชอบรอนานคะ

    ReplyDelete
  27. รอติดตามครับ สาธุ

    ReplyDelete
  28. Thank you the venerable author so much, simple but so so useful and insightful!

    ReplyDelete
  29. กราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ

    ReplyDelete
  30. สาธุเจ้าค่ะ

    ReplyDelete
  31. คำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อใช้ได้ทุกสถานที่ทั่วโลกเลยนะคะ กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ที่เมตตาถ่ายทอดคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อให้พวกเราเจ้าค่ะ

    ReplyDelete
  32. กราบอนุโมทนาบุญกับผู้มีบุญทุกท่านด้วยครับ สาธุๆๆ

    ReplyDelete
  33. กราบอนุโมทนาบุญสาธุค่ะ

    ReplyDelete
  34. สาธุเจ้าค่ะ

    ReplyDelete
  35. สาธุค่ะ

    ReplyDelete
  36. กราบอนุโมทนาบุญ สาธุๆๆครับ

    ReplyDelete
  37. The best defense is a good offense การเผยแผ่ คือการปกป้องพระพุทธศาสนาที่ดีที่สุด ขอเป็นส่วนหนึ่ง ในการสร้างบารมีกับมหาปูชนียาจารย์ เพื่อสืบสานงานพระพุทธศาสนา กราบอนุโมทนาบุญ

    ReplyDelete
  38. ลูกๆเกิดมาชาตินี้มีบุญเหลือเกิน ที่ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อทั้งสอง อบรมสั่งสอนให้ธรรมะดีๆที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อตนเองและสังคมประเทศชาติและสังคมโลกสืบต่อไปค่ะ

    ReplyDelete

Powered by Blogger.